Hawthorne Effect ยิ่งถูกคาดหวัง ยิ่งทำงานหนัก

เคยเป็นกันไหม…เมื่อทำงานทุกอย่างเป็นกิจวัตรทุกๆ วัน จะเริ่มเบื่อ ทำงานทุกอย่างไปเรื่อยๆ อย่างไม่มีจุดหมาย แต่ในทางกลับกัน? ถ้างานของเราถูกคาดหวังจากใครหรืออะไรสักอย่าง จะยิ่งมีไฟ เกิดไอเดีย พร้อมทำงานได้ทุกเมื่อ ซึ่งปฏิกิริยาก็คือ Hawthorne Effect

 
Hawthorne Effect กับการวิจัยในโรงงาน
เรื่องราวของ Hawthorne Effect เริ่มจากการศึกษาวิจัยปัจจัยในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของ Hawthorne Works โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในเมืองกิแกโร รัฐอิลลินอยในช่วงค.ศ. 1920
แต่ผลลัพธ์ของการวิจัยนี้ทุกครั้ง พบว่า ประสิทธิภาพการทำงานของคนในโรงงานสูงขึ้นจนเป็นที่ประหลาดใจ
 

 
ตัวแปรสำคัญ = การถูกจับตามอง ถูกคาดหวัง 
ปี 1958 นักสังคมศาสตร์ เฮนรี แลนส์เบอเกอร์ (Henry A. Landsberger) ได้ศึกษาการทดลองของ Hawthorne Works แล้วค้นพบตัวแปรหนึ่งในการทดลองอีกอย่างคือ ผู้วิจัยได้จับตามองและศึกษาคนทำงาน โดยคนทำงานเองก็รู้ตัวว่ากำลังถูกศึกษาอยู่ จึงทำให้คนทำงานนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้นในทุกรอบของการวิจัย เพราะพวกเขารู้ว่ากำลังถูกจับตามอง ถูกคาดหวังให้สร้างผลผลิตให้มากขึ้น ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของคนในโรงงานสูงขึ้น 
 

 
การนำ Hawthorne Effect ไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน
Hawthorne Effect สามารถนำมาใช้เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้ เช่น การสังเกตหรือจับตามองการทำงาน หรือการตั้งความสำเร็จที่ชัดเจนในโปรเจคของลูกน้อง และยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่ช่วยให้ประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้น คือ การรับฟัง จากการที่ผู้วิจัยสัมภาษณ์ถามไถ่ปัญหาของคนงานในโรงงาน ให้พวกเขาได้แสดงมุมมองที่มีต่องาน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน จะยิ่งช่วยให้พวกเขาตระหนักถึงสิ่งที่องค์กรหรือเพื่อนร่วมงานคาดหวังจากตัวเขา ช่วยกระตุ้นให้เขาอยากจะตอบสนองต่อความคาดหวังนั่นด้วย