รู้ไว้ใช่ว่า: ลิขสิทธิ์เบื้องต้น 101 ! ต้อนรับวันหนังสือและลิขสิทธิ์สากลโลก
รู้หรือไม่ ! ว่าทุกวันที่ 23 เมษายนของทุกปี คือ วันหนังสือและลิขสิทธิ์สากล (World Book and Copyright Day) หรือ วันหนังสือโลก (World Book Day) ถูกกำหนดโดยองค์การยูเนสโก (UNESCO) เพื่อส่งเสริมการอ่าน การตีพิมพ์ รวมถึงการคุ้มครองลิขสิทธิ์ของนักเขียนทั่วโลก เพราะ ลิขสิทธิ์ คือเกราะป้องกันที่ช่วยให้ผลงานสร้างสรรค์ได้รับการคุ้มครอง ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ บทความ หรืองานเขียนอื่น ๆ ดังนั้น การเคารพลิขสิทธิ์จึงเปรียบเหมือนการให้คุณค่ากับความคิดและความพยายามของผู้แต่ง LEARN Corporation ขอร่วมฉลองวันหนังสือและลิขสิทธิ์สากลโลก ด้วยการพาทุกคนไปทำความเข้าใจกับลิขสิทธิ์เบื้องต้น
ลิขสิทธิ์ (Copyright) คืออะไร?
ลิขสิทธิ์ (Copyright) คือ สิทธิ์ของผู้สร้างสรรค์ผลงานทางปัญญา เพื่อให้ผู้อื่นไม่สามารถคัดลอก ดัดแปลง หรือเผยแพร่ผลงานนั้นโดยไม่ได้รับอนุญาต
ประเภทของงานที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์
1. งานวรรณกรรม | หนังสือ, จุลสาร, สิ่งพิมพ์, คำปราศรัย, โปรแกรมคอมพิวเตอร์, เป็นต้น |
2. งานนาฏกรรม | ท่ารำ, ท่าเต้น, เป็นต้น |
3. งานศิลปกรรม | จิตรกรรม, ประติมากรรม, ภาพพิมพ์, ภาพถ่าย, ศิลปะประยุกต์, เป็นต้น |
4. งานดนตรีกรรม | ทำนอง , ทำนองและเนื้อร้อง, เป็นต้น |
5. งานสิ่งบันทึกเสียง | เทป, ซีดี, เป็นต้น |
6. งานโสตทัศนวัสดุ | วีซีดีหรือดีวีดีที่มีภาพ หรือมีทั้งภาพและเสียง, เป็นต้น |
7. งานภาพยนตร์ | ภาพยนตร์ รวมทั้งเสียงประกอบของภาพยนตร์, เป็นต้น |
8. งานแพร่เสียงแพร่ภาพ | การกระจายเสียงวิทยุ, การแพร่เสียง, ภาพทางโทรทัศน์, เป็นต้น |
9. งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี วิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ | การเพ้นท์บนร่างกาย เป็นต้น |
ใครบ้างคือเจ้าของลิขสิทธิ์
1. ผู้สร้างสรรค์ผลงาน | เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ เมื่อคิดเอง ทำเอง |
2. ผู้ดัดแปลงงาน | เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ผลงานที่ดัดแปลงขึ้นใหม่ |
3. ผู้รวบรวมงาน | เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ผลงานที่ประกอบรวบรวมขึ้นใหม่ |
4. ลูกจ้าง | เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในผลงานที่ตนเองสร้างขึ้นแต่เพียงผู้เดียว แต่นายจ้างมีสิทธิ์นำงานนั้นออกเผยแพร่ได้ตามวัตถุประสงค์ที่ได้จ้าง |
5. นายจ้าง | เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในผลงานที่ลูกจ้างที่สร้างสรรค์ขึ้น ต่อเมื่อมีการตกลงกันเป็นหนังสือว่าให้ลิขสิทธิ์เป็นของนายจ้าง |
6. ผู้ว่าจ้าง | เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ผลงานที่จ้างคนอื่นสร้างขึ้น ยกเว้นตกลงเป็นอย่างอื่น |
7. หน่วยงานราชการ | เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ผลงานที่ข้าราชการหรือลูกจ้างของ |
8. ผู้รับโอนลิขสิทธิ์ | ทางสัญญาจากผู้สร้างสรรค์หรือเจ้าของลิขสิทธิ์เดิม รวมถึงทางพินัยกรรมหรือมรดก |
เกร็ดลิขสิทธิ์ที่ควรรู้
o ลิขสิทธิ์เกิดขึ้นทันทีที่มีการสร้างสรรค์ผลงาน แม้ยังไม่ได้เผยแพร่ หรือจดลิขสิทธิ์
o การจดลิขสิทธิ์ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ
o บุคคลธรรมดา ลิขสิทธิ์คุ้มครองตลอดชีพ และคุ้มครองต่อไปอีก 50 ปีนับจากวันที่ผู้สร้างสรรค์เสียชีวิต
o ผู้สร้างสรรค์ มีสิทธิ์คัดลอก ดัดแปลง เผยแพร่ และอนุญาตให้คนอื่นใช้สิทธิ์ได้
“ ผิดลิขสิทธิ์ ไม่ควรทำ หรือ ต้องได้รับการยินยอมจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ”
แบบไหนที่เข้าข่ายผิดลิขสิทธิ์
o คัดลอก ไม่ว่าจะจากต้นฉบับหรือสำเนา ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
o ดัดแปลง เปลี่ยนรูปแบบใหม่ ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม หรือจำลองงานต้นฉบับ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
“ ยกเว้น ไม่ได้ทำเพื่อแสวงหากำไร หรือ ทำเพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอน และส่งเสริมความก้าวหน้าทางการศึกษา ”
LEARN Corporation ขอเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการอ่าน และใช้หนังสืออย่างถูกต้อง เคารพสิทธิ์เหล่านักเขียนและนักสร้างสรรค์ เพื่อให้วงการดังกล่าวเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน