ลิขสิทธิ์

รู้ไว้ใช่ว่า: ลิขสิทธิ์เบื้องต้น 101 ! ต้อนรับวันหนังสือและลิขสิทธิ์สากลโลก

รู้หรือไม่ ! ว่าทุกวันที่ 23 เมษายนของทุกปี คือ วันหนังสือและลิขสิทธิ์สากล (World Book and Copyright Day) หรือ วันหนังสือโลก (World Book Day) ถูกกำหนดโดยองค์การยูเนสโก (UNESCO) เพื่อส่งเสริมการอ่าน การตีพิมพ์ รวมถึงการคุ้มครองลิขสิทธิ์ของนักเขียนทั่วโลก เพราะ ลิขสิทธิ์ คือเกราะป้องกันที่ช่วยให้ผลงานสร้างสรรค์ได้รับการคุ้มครอง ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ บทความ หรืองานเขียนอื่น ๆ ดังนั้น การเคารพลิขสิทธิ์จึงเปรียบเหมือนการให้คุณค่ากับความคิดและความพยายามของผู้แต่ง LEARN Corporation ขอร่วมฉลองวันหนังสือและลิขสิทธิ์สากลโลก ด้วยการพาทุกคนไปทำความเข้าใจกับลิขสิทธิ์เบื้องต้น

 

ลิขสิทธิ์ (Copyright) คืออะไร?

 

ลิขสิทธิ์

ลิขสิทธิ์ (Copyright) คือ สิทธิ์ของผู้สร้างสรรค์ผลงานทางปัญญา เพื่อให้ผู้อื่นไม่สามารถคัดลอก ดัดแปลง หรือเผยแพร่ผลงานนั้นโดยไม่ได้รับอนุญาต

 

ประเภทของงานที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์

1.    งานวรรณกรรม หนังสือ, จุลสาร, สิ่งพิมพ์, คำปราศรัย, โปรแกรมคอมพิวเตอร์, เป็นต้น
2.    งานนาฏกรรม ท่ารำ, ท่าเต้น, เป็นต้น
3.    งานศิลปกรรม จิตรกรรม, ประติมากรรม, ภาพพิมพ์, ภาพถ่าย, ศิลปะประยุกต์, เป็นต้น
4.    งานดนตรีกรรม ทำนอง , ทำนองและเนื้อร้อง, เป็นต้น
5.    งานสิ่งบันทึกเสียง เทป, ซีดี, เป็นต้น
6.    งานโสตทัศนวัสดุ วีซีดีหรือดีวีดีที่มีภาพ หรือมีทั้งภาพและเสียง, เป็นต้น
7.    งานภาพยนตร์ ภาพยนตร์ รวมทั้งเสียงประกอบของภาพยนตร์, เป็นต้น
8.    งานแพร่เสียงแพร่ภาพ การกระจายเสียงวิทยุ, การแพร่เสียง, ภาพทางโทรทัศน์, เป็นต้น
9.    งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี วิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ การเพ้นท์บนร่างกาย เป็นต้น

 

ใครบ้างคือเจ้าของลิขสิทธิ์

1.        ผู้สร้างสรรค์ผลงาน เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ เมื่อคิดเอง ทำเอง
2.        ผู้ดัดแปลงงาน เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ผลงานที่ดัดแปลงขึ้นใหม่
3.        ผู้รวบรวมงาน เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ผลงานที่ประกอบรวบรวมขึ้นใหม่
4.        ลูกจ้าง เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในผลงานที่ตนเองสร้างขึ้นแต่เพียงผู้เดียว แต่นายจ้างมีสิทธิ์นำงานนั้นออกเผยแพร่ได้ตามวัตถุประสงค์ที่ได้จ้าง
5.        นายจ้าง เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในผลงานที่ลูกจ้างที่สร้างสรรค์ขึ้น ต่อเมื่อมีการตกลงกันเป็นหนังสือว่าให้ลิขสิทธิ์เป็นของนายจ้าง
6.        ผู้ว่าจ้าง เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ผลงานที่จ้างคนอื่นสร้างขึ้น ยกเว้นตกลงเป็นอย่างอื่น
7.        หน่วยงานราชการ เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ผลงานที่ข้าราชการหรือลูกจ้างของ
8.        ผู้รับโอนลิขสิทธิ์ ทางสัญญาจากผู้สร้างสรรค์หรือเจ้าของลิขสิทธิ์เดิม รวมถึงทางพินัยกรรมหรือมรดก

 

เกร็ดลิขสิทธิ์ที่ควรรู้

o  ลิขสิทธิ์เกิดขึ้นทันทีที่มีการสร้างสรรค์ผลงาน แม้ยังไม่ได้เผยแพร่ หรือจดลิขสิทธิ์

o  การจดลิขสิทธิ์ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ

o  บุคคลธรรมดา ลิขสิทธิ์คุ้มครองตลอดชีพ และคุ้มครองต่อไปอีก 50 ปีนับจากวันที่ผู้สร้างสรรค์เสียชีวิต

o  ผู้สร้างสรรค์ มีสิทธิ์คัดลอก ดัดแปลง เผยแพร่ และอนุญาตให้คนอื่นใช้สิทธิ์ได้

 

ผิดลิขสิทธิ์ ไม่ควรทำ หรือ ต้องได้รับการยินยอมจากเจ้าของลิขสิทธิ์

 

แบบไหนที่เข้าข่ายผิดลิขสิทธิ์

คัดลอก ไม่ว่าจะจากต้นฉบับหรือสำเนา ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน

ดัดแปลง เปลี่ยนรูปแบบใหม่ ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม หรือจำลองงานต้นฉบับ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน

 

ยกเว้น ไม่ได้ทำเพื่อแสวงหากำไร หรือ ทำเพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอน และส่งเสริมความก้าวหน้าทางการศึกษา ”

 

LEARN Corporation  ขอเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการอ่าน และใช้หนังสืออย่างถูกต้อง เคารพสิทธิ์เหล่านักเขียนและนักสร้างสรรค์ เพื่อให้วงการดังกล่าวเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน