เปิดใจทีม Dev ผู้อยู่เบื้องหลัง Learning Platform จาก Learn Corporation

 Learn Corporation ขับเคลื่อนการศึกษายุคใหม่ ด้วยระบบการเรียนออนไลน์ที่ครอบคลุมทุกระดับชั้น โดยแต่ละแพลตฟอร์มจะถูกพัฒนาจากผลรีเสิร์ชเพื่อให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้ามากที่สุด 
 
วันนี้เราได้มีโอกาสสัมภาษณ์ ทีม Developer กลุ่มคนเบื้องหลังที่คอยขับเคลื่อน Learning Platform จาก Learn Corporation ถึง 3 คนด้วยกัน คือ คุณแป๊ป – รภรัตน์ สุขาภิรมย์ Head of Engineering ผู้ดูภาพรวม และทีมซอฟแวร์, คุณนัน – ณัฐนันท์ ฉันทานุรักษ์ Engineering Manager ผู้เริ่มทำ Application Learn Anywhere และเป็น Project Lead ของ Learnneo สุดท้ายคุณฉัน – ฉันทวัฒน์ ประดิษฐ Software Engineer (Front-end) ผู้ดูแล Frontend ให้กับแอปพลิเคชัน Learn Anywhere และ Learnneo รวมถึงระบบ Teacher Dashboard ของ Learn Education

 
ภาพรวม Learning Platform ที่ให้ความรู้ทั้งนักเรียนและครู 
ตัวหลัก ๆ ที่เรากำลังโฟกัสกันอยู่คือ Learn Anywhere แพลตฟอร์มที่รวบรวมคอร์สเรียนกวดวิชาในกลุ่ม OnDemand และคอร์สเรียนในโรงเรียนที่ใช้ระบบจาก Learn Education นอกจากนี้ใน Learn Anywhere ยังมีส่วนเสริมสำหรับครู ที่เรียกว่า Teacher Dashboard ช่วยให้ครูของ Learn Education สามาถรถติดตามดูสถานะการเรียนของเด็กที่มาเรียนใน Learn Anywhere ได้  รวมทั้งแอปพลิเคชัน Learnneo แพลตฟอร์มเนื้อหาวิชาการสำหรับให้เด็กได้ทบทวนเนื้อหาหลังเลิกเรียน และ Trainครู แพลตฟอร์มสำหรับให้ครูได้เรียนรู้เนื้อหาเพิ่มสกิลให้ตัวเองไปสอนกับเด็กอีกด้วย
 
นอกจากนี้ เรายังมี Dashboard การเรียนให้โรงเรียนสาธิตพัฒนา ฝ่ายมัธยม ทั้งสำหรับการเรียนที่โรงเรียนและการเรียนออนไลน์ผ่าน Learn Anywhere เพื่อช่วยแสดง Progress การเรียนให้กับครู ผู้ปกครอง ติดตามสถานะการเรียนของนักเรียนอีกด้วย
 

 
กว่าจะมาเป็นแอปพลิเคชัน 1 ตัว 
ปกติแล้วทางทีมการตลาดจะ Research และวาง Position มาให้ ซึ่งเราจะทำหน้าที่ในส่วน User Research หรือการออกแบบ UX/UI ของแอปฯ มากกว่า เช่น User จะใช้งานยังไงให้มีประสบการณ์ที่ดี นั่นคืองานของฝั่งเรา นอกจากนี้ยังมีทีม Designer, ทีม Product Manager ช่วยปั้นโปรดักส์ให้จับต้องได้มากขึ้น – คุณแป๊ปกล่าว
 
คุณนันเสริมว่า – เพราะเราอยากพัฒนาโปรดักส์ที่ดีที่สุด และอยากส่งโปรดักส์ให้ออกไปถึงมือลูกค้าเพื่ออำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ของพวกเขาไว ๆ ด้วยเช่นกัน ระยะเวลาการทำแอปพลิชันแต่ละแอปฯ จึงค่อนข้างสั้น เช่น Learn Anywhere เกิดจากการพัฒนาโปรเจกต์ At Home ที่ OnDemand ต้องการให้นักเรียนไปเรียนต่อที่บ้านได้ เราจึงนำมาพัฒนาใหม่ให้สามารถเรียนบนเว็บไซต์ แต่ก็พบปัญหาเรื่อง Security และ Content ที่ส่งผลต่อประสบการณ์ในการเรียนที่ต้องแก้ไข และพอถึงช่วงทดลองใช้จริงเราพบว่าแพลตฟอร์มเว็บไซต์ยังไม่ตอบโจทย์ จึงตัดสินใจทำเป็นแอปพลิเคชันแทนดีกว่า ซึ่งใช้เวลาพัฒนาต่ออีก 2 เดือน ก็ปล่อย Learn Anywhere เวอร์ชั่นแรกออกมา
 

 
ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงการศึกษาในช่วงโควิด-19
คุณนันกล่าว – ช่วงภาวะปกติก่อนมีโควิด-19 Learn Anywhere มีคนใช้งานตาม Real Time Dashboard 500 – 600 คน/นาที ที่เข้าใช้พร้อมกัน แต่พอช่วงโควิด-19 อยู่ที่ประมาณ 1,500 – 2,000 คน/นาที ที่ใช้พร้อมกัน เพิ่มขึ้นประมาณ 4 เท่า 
 
ต้องเรียกว่าผู้บริหารเราคิดถูก ที่ตัดสินใจย้าย User ของสาขาให้มาเรียนใน Learn Anywhere ได้  และทีมเราเองก็ใช้เวลา Move User ทั้งหมดใน 1 วัน ทำให้ทุกคนเรียนบนแอปพลิเคชัน Learn Anywhere ได้ตั้งแต่ช่วงมกราคม-กุมภาพันธ์ 2563 
 
ส่วนปัญหาหลังบ้านเจอนั้น คือ เรื่องจำนวน User ที่มีมาเรื่อย ๆ เช่น ช่วงใกล้สอบ อาจมี Event ที่ชวนเข้าทดลองเรียนฟรี ทำให้ User เพิ่มขึ้นมาจากเดิม ซึ่งปกติเราทำ Auto Scale ไว้แล้ว แต่บางทีอาจจะไม่ทัน หรือมีบางเรื่องที่ไม่เคยเจอมาก่อน 
 
คุณฉันกล่าวเสริมอีกว่า – การรองรับ User ในแพลตฟอร์มที่หลากหลาย ทั้ง Mobile, Tablet หรือ Desktop ทางทีมต้องรับมือให้ครบ เพราะเทคโนโลยีเปลี่ยนทุกวัน เช่น IOS อัปเดตเวอร์ชั่น ต้องเช็กว่าเข้ากับเวอร์ชั่นใหม่ได้ไหม กระทบอะไรหรือเปล่า 

Learning Platform เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาวงการศึกษา 
สิ่งเราช่วยคือ Deliver Quality Content ให้ไปถึงมือทุกคน เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา อันนี้คิดว่าเป็น Impact ที่สำคัญ เช่น Learn Education ช่วยเหลือโรงเรียนพื้นที่ห่างไกล หรือพื้นที่ที่มีครูไม่เพียง หรือ OnDemand ที่ช่วยเพิ่มการเข้าถึงอย่างครอบคลุมทุกจังหวัด – คุณนันกล่าว
 
ในมุมของครู ก็ช่วยลดเวลาการสอนไป จากที่ครูต้องสอนเรื่องเดิมซ้ำ ๆ หลายกลุ่ม ครูสามารถสอนรอบเดียว แล้วเราช่วยส่งต่อไปให้ผู้ใช้อีกหลายกลุ่มได้ – คุณฉันกล่าว

Next Step ของทีม Developer 
เราเพิ่งซอฟต์ลอนช์แพลตฟอร์มการเรียน Upgrade ซึ่งเป็น Marketplace ที่รวมติวเตอร์ดังของแต่ละที่มารวมกันในแพลตฟอร์มนี้ นอกจากนี้ Dashboard ตัวใหม่ใน Learn Anywhere จะมีฟีเจอร์ที่ช่วยตั้งเป้าหมายในการเรียนเพื่อเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัย โดยเด็กที่มาเรียนในคอร์ส OnDemand ใน Learn Anywhere จะได้ใช้ช่วงต้น-กลางปีนี้- คุณแป๊ปกล่าว

อยากเป็น Software Engineer ต้องทำยังไง ? 
ระดับมัธยมปลายเรียนสายวิทย์-คณิตหรือศิลป์คำนวน และเรียนต่อคณะที่เปิดสอนเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เช่น Computer Science, Computer Engineer, IT หรือ Math Computer ซึ่งชื่อคณะของแต่ละมหาวิทยาลัยอาจไม่เหมือนกัน แล้วเลือกต่อยอดมาทาง Web Programing เลย เพราะฝั่งเราจะใช้ Base On Web Technology เช่น HTML, Javascript, CHS ซึ่งเป็นภาษาหลัก ๆ ของการเขียน Programing,เรียนรู้เกี่ยวกับ Network และการรับส่งข้อมูลระหว่าง Web Clients กับ Server ทั้งหมดเป็น Hard Skill ที่ควรรู้ ส่วน Soft Skill ถ้ามีคือดีเลย ไม่ว่าจะเป็น Communication, Self Learning, ความรู้ความเข้าใจทาง Business ช่วยให้เข้าใจทางลูกค้ามากขึ้น และ Ownership ของสิ่งที่ตัวเองทำ – คุณฉันกล่าว
 
คุณนันกว่าวเสริมอีกว่า – ถ้าเกิดว่าไม่จบตรงสายก็ไม่เป็นไร เพราะตอนนี้ความรู้สาย Tech หาได้ง่าย หรือถ้าคิดไม่ออกว่าจะเรียนที่ไหน เสิร์ช www.skooldio.com ได้เลยครับ และ Learn Corporation ไม่ได้มองแค่เรื่องจบตรงสายหรือไม่ตรงสาย เราดูที่ฝีมือ ดูที่ผลงานมากกว่าว่าเคยทำอะไรมา ตรงกับงานที่เราทำหรือเปล่า และที่สำคัญคือ Attitude ว่าเป็นคนที่พร้อมจะรับผิดชอบงานหรือเปล่า 
 
นอกจาก Software Engineer การที่เราจะทำ Product สักตัว ต้องมีทีมมากกว่าตำแหน่ง Software Engineer ด้วย เช่น มี Designer ที่คอยดู UX/UI ของระบบ และทีม Product Manager ที่ปั้น Product ให้ขายได้ ต้องทั้งใช้งานง่ายและทำได้ในทางเทคนิคด้วย ผมมองว่าคนที่อยากมาทำ Product พวกนี้ไม่จำเป็นต้องโฟกัสแค่ตำแหน่งนี้ เพราะสมัยนี้รู้ลึกในสิ่งที่ตัวเองทำอย่างเดียวไม่ได้ ต้องรู้เรื่องอื่นหรือสนใจสิ่งรอบตัวด้วย คือรู้ว่าสิ่งที่เราทำเกิดผลกระทบในด้านอะไรบ้าง เป็นทักษะที่คนที่กำลังเรียนอยู่หรือคนที่เพิ่งจบควรรู้ – คุณแป๊บกล่าว